คลังคำศัพท์

ภาวะเงินเฟ้อ

Easy

ราคาที่เพิ่มขึ้นโดยทั่วไปและการลดลงของมูลค่าการซื้อของเงิน

ภาวะเงินเฟ้อคืออะไร

ภาวะเงินเฟ้อคือการอ่อนค่าของสกุลเงินอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่หมายถึง สกุลเงิน fiat เช่น ดอลลาร์หรือยูโร เนื่องจากคริปโตเคอร์เรนซี บางตัวเช่น Bitcoin มีอุปทานคงที่และอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ได้จะจบที่ศูนย์ในที่สุด ในทางกลับกัน สกุลเงิน Fiat ไม่ได้มีอัตราเงินเฟ้อที่สามารถคาดการณ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น เงินหนึ่งดอลลาร์ในปี 2515 มีมูลค่ามากกว่าหนึ่งดอลลาร์ในปี 2565 เนื่องด้วยมูลค่าที่ลดลงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ในแต่ละปีจากภาวะเงินเฟ้อ

ด้วยเหตุนี้ราคาจึงเพิ่มสูงขึ้นในระบบเงินเฟ้อ ผู้ผลิตและผู้บริโภคก็พยายามหาทางที่จะรักษากำลังซื้อ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือพวกเขาต้องการที่จะซื้อสินค้าในปริมาณที่เท่าเดิมแม้ว่าจะต้องเสียอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ก็ตาม

สภาวะเงินเฟ้อมีการทำงานอย่างไร

อัตราเงินเฟ้อมีสามประเภท:

  • อัตราเงินเฟ้อทางการเงิน: การขยายตัวของปริมาณเงิน นี่คือจำนวนของสกุลเงินที่หมุนเวียนและรวมทั้งเงินสด เงินฝากธนาคารพาณิชย์ และบัญชีทั่วไปของกระทรวงการคลังใน Federal Reserve (เช่น บัญชีธนาคารของรัฐบาล)
  • เงินเฟ้อของราคาของผู้บริโภค: ราคาที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อของราคาของผู้บริโภค ซึ่งอาจเกิดจากความขาดแคลนของสินค้า เช่น เมื่อห่วงโซ่อุปทานไม่ทำงานเท่าที่ควร หรืออัตราเงินเฟ้อทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
  • อัตราเงินเฟ้อของสินทรัพย์: การเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หุ้น ทองคำ และสกุลเงินดิจิทัล

คริปโตเคอร์เรนซีทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือไม่

คริปโตเคอร์เรนซีไม่ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อเนื่องจากมันไม่ได้เพิ่มปริมาณเงิน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้ออาจทำให้ราคาของคริปโตเคอร์เรนซีพุ่งสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น Bitcoin เป็นคริปโตเคอร์เรนซีที่มีอุปทานคงที่ที่ 21 ล้านเหรียญ ความขาดแคลนของ Bitcoin จะช่วยดึงดูดนักลงทุนจำนวนมากที่กำลังมองหาการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ

มีภาวะเงินเฟ้อในอุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซีหรือไม่

คริปโตเคอร์เรนซีก็มีสภาวะเงินเฟ้อเช่นกัน แต่ภาวะเงินเฟ้อในคริปโตนั้นเป็นไปในรูปแบบที่แตกต่างจากสกุลเงิน fiat โดยมันขึ้นอยู่กับรูปแบบของโทเค็น ตัวอย่างเช่น Bitcoin มีอัตราเงินเฟ้อที่คงที่และคาดการณ์ได้ซึ่งค่าของมันจะกลายเป็นศูนย์เมื่อมีการขุดเหรียญทั้ง 21 ล้านเหรียญเสร็จสิ้นลงไป ดังนั้น หลายคนจึงคาดว่า Bitcoin จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่คงที่ทำให้มันกลายเป็นของดีที่หายาก

ในทางกลับกัน Ethereum กลับมีอัตราเงินเฟ้อที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น จำนวนโทเค็นที่ ถูกเดิมพัน และจำนวนธุรกรรมที่ต้องดำเนินการ สิ่งนี้สามารถทำให้ Ethereum เข้าสู่สภาวะเงินฝืดได้ด้วย หมายความว่า ETH จะถูก เบิร์น มากกว่าจำนวนที่ถูกสร้างขึ้น

ยังมีคริปโตเคอร์เรนซีบางตัวที่ไม่มีอุปทานที่คงที่และมีอัตราเงินเฟ้อที่คล้ายกับสกุลเงิน fiat หลายๆ ตัว